Friday, March 2, 2012

ประวัติ วอร์เรน บัฟเฟตต์

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเต็มว่า วอร์เรน เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์  เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 1930 (ค.ศ. 1930) ที่เมืองโอแมฮา ในรัฐเนแบรสกา  พ่อของเขาชื่อโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรครีพับลิกัน และยังเป็น Stock Broker อีกด้วย ส่วนมารดาของเขามีชื่อว่าไลล่า บัฟเฟตต์ เขามีพี่น้องอยู่ 2 คน คือดอริส และเบอร์ตี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหมกมุ่นกับตัวเลขตั้งแต่อายุยังน้อย และมีความจำอันดีเลิศ เขาสามารถจดจำจำนวนประชากรของเมืองใหญ่ในสหรัฐได้อย่างมากมาย

ไม่ เพียงเท่านั้น ในตอนที่เขาอายุ 6 ขวบ  เขาได้จ่ายเงิน 25 เซนต์ซื้อโค๊กจำนวน 6 แพ็ค และนำมาขาย ในราคา กระป๋องละ หนึ่งเหรียญ  และเมื่ออายุ 11 ขวบ เขาทำหน้าที่เป็นเด็กจดกระดานในบริษัทหุ้นของพ่อของเขา และในปีเดียวกันนั้น เขาเริ่มซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเงินอันน้อยนิด เขาสามารถซื้อได้แค่ 3 หุ้น หุ้น Cities Service Preferred ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ เมื่อซื้อแล้วราคาได้ตกมา 27 เหรียญ แต่เมื่อหุ้นกลับขึ้นมาอีกที เขาก็ขายไปที่ 40 เหรียญ นั่นเป็นการทำกำไรครั้งแรกในชีวิต ของเขา ได้มาเน็ต ๆ แค่ 5 เหรียญ หลังจากนั้นต่อมาไม่ทราบว่าใช้เวลานานนานเท่าไร หุ้นนั้นทะยานไปถึงหุ้นละ 200 เหรียญ

นอกจากการเล่นหุ้นแล้ว เขายังทำงานพิเศษอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเร่ขายของเคาะประตูตามบ้าน ส่งหนังสือพิมพ์ จนเมื่อเขาอายุได้ 14 ปี เขาสามารถเก็บหอมรอมริบได้ เงินจำนวนถึง 1200 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากเลยทีเดียวในสมัยนั้น และเขาได้ทำเงินก้อนนี้ไปซื้อที่ดินราว ๆ 100 ไร่ เพื่อให้คนเช่าทำการเกษตร

ต่อมาเขาได้เข้าเรียนระดับมัธยมที่ Woodrow Wilson High School ในกรุงวอชิงตันดีซี และเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยการเงินวอร์ตัน ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระหว่างปี 1947 – 1949 แต่จากนั้นก็ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา ซึ่งที่นี่เองที่เขาได้มีความสนใจด้านการลงทุนเพราะได้แรงบันดาลใจจากการ อ่านหนังสือของ Benjamin Graham ที่มีชื่อว่า The Intelligent Investor หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคัมภีร์ของ value investors และเขาก็ได้รับความรู้มากมายจากหนังสือเล่มนี้

เมื่อจบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี  เขาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้เรียนหนังสือกับปรมาจารย์ในใจเขาคือ Benjamin Graham และเขาได้รับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1951

หลังจากเรียน จบ เขาก็กลับบ้านเกิดและเข้าทำงานเป็นเซลล์แมนในบริษัทของพ่อตัวเอง ระหว่างปี 1951 – 1954 พอมาปี 1954 – 1956 เขาก็ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัท Graham-Newman Corp. ที่กรุงนิวยอร์ก

ในปี 1957 เขากลับมาถิ่นเกิดอีกครั้ง และเริ่มก่อตั้งบริษัทลงทุนที่มีชื่อว่า Buffett Partnership, Ltd. มีนักธุรกิจมากมายใส่เงินร่วมทุน จุดประสงค์ของเขาก็คือต้องการเอาชนะดัชนีดาวโจนส์ ซึ่งเขาก็ทำได้ผลในปี 1969 อัตรากำไรที่บริษัทเขาทำได้นั้นสูงถึง  29.5 % เปรียบเทียบกับดัชนีดาวโจนส์ แค่ 7.4 % เท่านั้น
 ในปี1962เขาได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอBerkshireHathawayในราคาไม่ ถึง8เหรียญต่อหุ้นเขาได้ขายโรงทอผ้าทิ้งไปแปลงโฉมบริษัทเป็นHoldingCompany และนี่เองที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของบริษัทที่ต่อมายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและ ในขณะเดียวกันเขาก็ได้แต่งงานกับซูซานทอมป์สันในปีค.ศ.1952และมีลูก3คนคือซู ซี่โฮเวิร์ดและปีเตอร์แต่ชีวิตสมรสของทั้งคู่ก็ต้องแยกกันอยู่ตั้งแต่ ปี1977โดยที่ไม่มีการหย่าร้างและภรรยาของเขาก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี2004

ชีวิต ส่วนตัวของเขาเรียบง่ายและสมถะมากเขายังคงขับรถเก่าๆไปทำงานบ้านที่อยู่ก็ บ้านเก่าและเขาก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมในเมืองโอมาฮาเนบราสกาซึ่งเป็น บ้านที่เขาซื้อมาด้วยราคา31,500เหรียญเมื่อปีค.ศ.1958หรือตั้งแต่49ปีที่ แล้วอาหารที่กินประจำยังเป็นแมคโดนัลด์กับโค้กซึ่งเขากินวันละหลายๆกระป๋อง ประมาณ15กระป๋องต่อวันเนื่องจากเป็นสินค้าของกิจการที่เขาลงทุนอยู่มูลค่า หุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาทแต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปี ละ1-2แสนดอลลาร์เท่านั้นเองและไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิตเขาขับรถ เก่ายี่ห้อLincolnTownไปทำงานเองไม่มีเลขาหน้าห้องบนโต๊ะทำงานไม่เคยมี เครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้นชอบใช้ชีวิตในแบบเดิมๆและคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็น อันดับแรกและยังชอบเล่นไพ่บริดจ์กับบิลล์เกตส์อยู่เสมอๆ

เงินที่เขา หาได้เขาเอามาใช้น้อยมากความสุขของเขาอยู่ที่การลงทุนเขาไม่ต้องการเอาเงิน ไปทำอย่างอื่นที่ไม่ให้ผลตอบแทนหรือให้ผลตอบแทนน้อยเขาคิดว่าเงินถ้าอยู่กับ เขาแล้วจะโตเร็วมากและมีประโยชน์กว่าเพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ได้บริจาคเงิน เพื่อการกุศลมากนักแต่ในที่สุดเขาก็บริจาคเงินให้กับมูลนิธิบิล–มิรินดา เกตส์เพื่อนของเขาเขาถือเป็นแบบอย่างของคนที่รู้จักความพอดีในการใช้ชีวิต รู้และสำนึกได้ด้วยตัวเองว่าจุดความพอดีของตัวเองนั้นอยู่ที่ไหนและเมื่อ ไหร่ที่จะปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง

ความร่ำรวยส่วนใหญ่ของเขานั้น สั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการ ประกันภัยอสังหาริมทรัพย์พลังงานและการเช่าเครื่องบินและบริษัทเบอร์กไชร์ฮา ธาเวย์ของเขาไม่มีสินค้าอะไรเลยไม่มีการขายสินค้าไม่มีการผลิตการบริการใดๆ รายได้จำนวนมากมายมหาศาลทั้งหมดมาจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้รับฉายาว่า เป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลกเขาสามารถเพิ่มราคาหุ้นกองทุนBerkshireของ เขาถึง3600เท่าและเน้นย้ำเฉพาะการลงทุนแบบValueInvestorเท่านั้น

หุ้น ของเบอร์กไชร์นั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กและเป็นหุ้นตัวใหญ่ที่ แปลกประหลาดนอกจากไม่มีการผลิตสินค้าและบริการใดๆเลยซื้อขายหุ้นอย่างเดียว ยังเป็นหุ้นที่ไม่เคยมีการจ่ายปันผลมาหลายสิบปีทั้งๆที่มีกำไรมหาศาลทุกปีทำ ให้บริษัทมีสินทรัพย์มากขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นของเบอร์กไชร์ทะลุหลักล้านบาทไป แล้วคนที่ถือหุ้นบริษัทเขาตั้งแต่วันแรกก็ยังถือมาจนถึงปัจจุบันพวกเขาเชื่อ ในตัวบัฟเฟตต์มากๆหุ้นบริษัทเขาจึงมีสภาพคล่องต่ำมากซึ่งเป็นผลดีกับกิจการ เนื่องจากจะไม่มีคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันมาป่วนราคาบริษัทของเขาจะเลือกลงทุน ในหุ้นในกิจการที่เยี่ยมยอดเพียงไม่กี่ตัวโดยซื้อเมื่อตอนราคาถูกและ ยุติธรรมแล้วเก็บไว้ให้นานที่สุดหรือเก็บไปตลอดชีวิตเลย

สำหรับพอร์ ทการลงทุนของเขาจะมีแต่กิจการที่ดีของโลกเช่นบริษัทโค้กยิลเลทดิสนีย์แลนด์ เป็นต้นหุ้นที่เขาจะซื้อจะต้องมีพื้นฐานกิจการที่ดีและเขาจะต้องรู้จักและ เข้าใจว่ากิจการสามารถสร้างรายได้มาได้อย่างไรเพราะฉะนั้นหุ้นกลุ่มไฮเทคจะ ไม่ได้รับความสนใจจากเขาเลยแม้แต่ไมโครซอฟต์เพราะเขาบอกว่าถ้าเขาไม่รู้ว่า อีก5-10ปีข้างหน้าบริษัทนั้นจะเป็นอย่างไรเขาก็จะไม่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นซึ่ง หุ้นไฮเทคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากจึงไม่อยู่ในข่ายลงทุน

สิ่ง ที่บัฟเฟตต์ยึดถือในการลงทุนนอกจากคุณค่าของกิจการแล้วคือผู้บริหารต้องมี ความซื่อสัตย์ยึดผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นหลักฉะนั้นการบริหารงาน ของบัฟเฟตต์จึงทำอย่างโปร่งใสและยึดถือประโยชน์ของทุกคนเป็นที่ตั้งเขาไม่ เคยเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นการบริจาคเงินของ บริษัท

หลักการเลือกลงทุนของวอร์เรนบัฟเฟตต์:
1.เป็นธุรกิจหรือ บริษัทที่ไม่ซับซ้อนกิจการประเภทง่ายๆไม่วุ่นวายนี้จะสามารถบริหารจัดการได้ อย่างง่ายๆไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก
2.เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่งเช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่งมีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้
3.สามารถคาดเดาได้คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอนเนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง
4.ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง(ROE)อย่างน้อย12%
5.มีกระแสเงินสดที่ดี
6.มีผู้บริหารที่ดีเห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญธุรกิจที่ดีมีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี

จากการศึกษาวอร์เรนบัฟเฟตต์เขาให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ5กลุ่มด้วยกันคือ
1)ธุรกิจเครื่องดื่มเช่นโค้ก
2)กลุ่มการเงินที่เกี่ยวกับรายย่อยเช่นบริษัทอเมริกันเอ็กเพรส
3)กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
4)กลุ่มธนาคารพาณิชย์เช่นธนาคารของแคลิฟอร์เนีย
5)หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์

กรณี หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์วอร์เรนบัฟเฟตเข้าลงทุนเมื่อ1974จำนวน11ล้าน เหรียญสหรัฐ30ปีผ่านไปได้ผลตอบแทน1.7พันล้านเหรียญสหรัฐและเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่จำนวน15%ที่ผ่านมาเขามีหนังสือออกมาสามเล่มด้วยกันคือ101เหตุผลที่คุณจะ เป็นเจ้าของกิจการเล่มที่2ชื่อบัฟเฟตต์ซีอีโอแต่ด้วยเนื้อหาที่ต้องมีการ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีเล่มที่สามซึ่งใช้ชื่อ ว่า“WARRENBUFFETTWEALTH”หรือวอร์เรนบัฟเฟตผู้มั่งคั่งสำหรับหนังสือเล่ม ที่3นี้จะใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นมีการยกตัวอย่างประกอบซึ่ง เนื้อหาได้มาจากการศึกษาเกี่ยวกับนายวอร์เรนบัฟเฟตและบริษัทของเขาตลอดจนได้ มีการสอบถามจากผู้ใกล้ชิดของเขาและล่าสุดชื่อTheNewBuffetologyซึ่งมีชื่อ เป็นไทยว่าลงทุนอย่าง...วอร์เรนบัฟเฟตต์ซึ่งรายละเอียดในหนังสือนั้นที่ สำคัญคือTheWarrenBuffettWayที่เป็นเหมือนกลยุทธ์การลงทุนพื้นฐานสไตล์บัฟ เฟตต์

อย่างไรก็ตามข่าวคราวที่สร้างความโด่งดังให้แก่วอร์ เรนบัฟเฟตต์มากที่สุดในชีวิตของเขาก็คือการที่เขายกทรัพย์สิน ถึง85เปอร์เซ็นต์หรือประมาณสามหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิบิลล์และ เมลินดาเกตส์ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยสองสามีภรรยาเกตส์เพื่อนเก่าแก่ของวอร์ เรนบัฟเฟตต์ยังผลให้มูลนิธินี้กลายเป็นมูลนิธิที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนับว่า เป็นการรวมตัวทางการเงินเพื่อทำการกุศลยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บิล เกตส์และเมอลินดาภริยาบอกว่ามูลนิธิหวังจะใช้ของขวัญล้ำค่าชิ้นนี้ไปใช้ วิจัยหาวัคซีนสยบโรคเอดส์ร่วมกับอีก20โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกปีละ ไม่รู้กี่ล้านซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มียารักษา

เงินจำนวนนี้ถือเป็นเงิน บริจาคที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกที่เคยมีมาเงินนี้วอร์เรนบัฟเฟตต์หามาเอง เกือบทั้งสิ้นตลอดชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกและได้รับการ ยกย่องว่าเป็นนักธุรกิจตัวอย่างที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและไม่ฟุ้งเฟ้อเขาเชื่อ ว่าเงินที่เขาได้มานั้นเขาต้องการที่จะทำในสิ่งที่มีประโยชน์และทำให้เขา รู้สึกภูมิใจและเขายังคาดหวังว่าการตัดสินใจบริจาคทรัพย์สมบัติครั้งนี้จะ เป็นแบบอย่างแก่บรรดาเศรษฐีทั้งหลายให้ทำบุญสร้างกุศลโดยการบริจาคให้ มูลนิธิต่างๆที่มีอยู่โดยไม่ต้องแข่งกันตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ส่วนการที่เขา บริจาคให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์เพราะเชื่อมั่นในนโยบายช่วยเหลือคนด้อยโอกาส จริงๆ

บัฟเฟตต์พูดอยู่เสมอว่าเขาเป็นคนที่โชคดีมากเขากล่าวไว้ ว่า“ผมรู้สึกอยู่เสมอว่าควรจะตอบแทนสังคมและครอบครัวของผมก็เห็นด้วยกับผมคำ ถามก็คือว่าจะตอบแทนอย่างไร”และ“ผมไม่ใช่คนที่ปรารถนาในความมั่นคั่งอย่าง ราชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางเลือกหนึ่งยังมีคนอีกจำนวน6,000ล้านคนยังจน กว่าที่เรามีอยู่มาก”

เคล็ดลับในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของบัฟเฟ็ตต์

 เคล็ดลับในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของบัฟเฟ็ตต์เรียบง่าย แต่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้ง ซึ่งมีหลักๆ อยู่ 7 ข้อ

1. ทำในสิ่งที่ตนเองรัก บัฟเฟ็ตต์บอกว่าในชีวิต เขาไม่เคยต้องเลือกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องชีวิตส่วนตัว เขามีความสุขกับการทำงานมาก ทุกวันตื่นเต้นที่ได้ไปทำงาน เรียกได้ว่าแทบจะเต้นแท็บแดนซ์เข้าออฟฟิศเลยทีเดียว และเดินเข้าออฟฟิศอย่างมีความสุขเป็นที่สุด ซึ่งการทำในสิ่งที่ตนรัก และรักในสิ่งที่ตนทำ ผลงานก็จะออกมาดีโดยธรรมชาติ

2. หาความสุขจากความเรียบง่าย บัฟเฟ็ตต์บอกว่าความสุขอย่างเรียบง่ายของเขาคือการเล่นไพ่บริดจ์ออนไลน์สัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ความสุขอยู่ที่ใจเป็นสิ่งที่หาได้จากสิ่งใกล้ตัว การได้พักผ่อนอยู่กับบ้านนั่งอ่านหนังสือหรือปลูกต้นไม้ก็ถือเป็นความสุขแล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียเงินฟุ่มเฟือยทานอาหารนอกบ้าน หรือท่องเที่ยวต่างประเทศ

3. คิดและทำในสิ่งที่ไม่ซับซ้อน บัฟเฟ็ตต์บอกว่าไม่ว่าจะทำงานอะไร เขาต้องอธิบายสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาดได้ ดังนั้น จึงเลือกทำแต่เฉพาะสิ่งที่ตัวเองเข้าใจทะลุปรุโปร่งเพราะความเสี่ยงหรือความเสียหายเกิดจากการทำในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้

4. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย บัฟเฟ็ตต์กล่าวว่าในชีวิตส่วนตัวของเขาเขาไม่เคยสนใจว่าคนรวยคนอื่นๆ ทำอะไร ตัวเขาไม่ต้องการมีเรือยอชต์ขนาด 405 ฟุต เพียงเพราะว่าเศรษฐีคนอื่นมีเรือยอชต์ยาว 400 ฟุต

ทุกวันนี้ บัฟเฟ็ตต์ยังคงอยู่ในบ้านหลังเดิมขนาด 550 ตารางเมตร ซึ่งซื้อเมื่อ 43 ปีก่อน ที่เมืองโอมาฮ่า รัฐเนบราสก้า ในราคา 1.3 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 21 ล้านบาท บัฟเฟ็ตต์บอกว่าคนเป็นหนี้บัตรเครดิต แสดงว่าคนคนนั้นใช้ชีวิตเกินฐานะของตัวเอง

5. มีต้นแบบที่ดี ยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต บัฟเฟ็ตต์เคยกล่าวไว้ว่า บอกมาเลยว่าใครคือฮีโร่ในดวงใจของคุณ ผมสามารถทำนายได้เลยว่าในอนาคตคุณจะเป็นอย่างไร เพราะคุณสมบัติของคนที่เราชื่นชมจะเป็นเครื่องนำทางไปสู่คุณสมบัติที่ตัวเราจะมี ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนเข้าช่วยนิดหน่อยจนพัฒนาเป็นนิสัย

6. เลือกทำในสิ่งที่รัก ไม่ใช่เลือกทำเพราะเงินหรือผลตอบแทน บัฟเฟ็ตต์กล่าวว่า หากเราทำในสิ่งที่เรารัก เราจะทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจที่มีอย่างเต็มที่ ซึ่งผลที่ได้รับก็มักเป็นผลตอบแทนทางการเงิน

ตอนที่บัฟเฟ็ตต์เรียนจบปริญญาโท เขาไปทำงานกับ เบ็นจามิน แกรห์ม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนบริษัทด้านการลงทุน Graham-Newman Partnership ทั้งๆ ที่ยังไม่ทราบว่าจะได้เงินเดือนเท่าไหร่ รู้แต่ว่าอยากทำงานกับเบ็น จามิน แกรห์ม เพราะพอได้ทำงานกับคนที่อยากทำ ตื่นเช้าขึ้นมาก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ทำงาน เพราะรู้ว่าเมื่อกลับถึงบ้านตอนเย็นหลังเลิกงาน ตัวเองจะฉลาดขึ้นกว่าเมื่อเช้าตอนก่อนออกจากบ้าน

7. แต่งงานกับคนที่ใช่ บัฟเฟ็ตต์บอกว่าถ้าเจอะคนที่เรารักและมั่นใจว่า "คนนี้ใช่เลย" ขอให้แต่งงานโดยไม่ต้องรีรอ

เขาบอกว่าการมีชีวิตคู่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในชีวิต เช่น ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ทำให้รู้ว่าตัวเองควรทำงานด้านไหน และ ฯลฯ

การทำตัวเป็นพ่อพวงมาลัยหรือเพลย์บอยทำให้ศักยภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากเอาเวลาทำงานไปหมกมุ่นเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่งงานซะทุกอย่างก็จบ

๗ ข้อคิดดี ๆ สุดยอด ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีประโยชน์มากจริง ๆ สำหรับนักลงทุน

ท่านทราบหรือไม่ว่า  วอร์เรน บัฟเฟตต์  มหาเศรษฐีโลก นั้น  ไม่เคยเขียนหนังสือ
การลงทุน

แต่แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนของเขานั้น  ส่วนใหญ่น่าจะมาจากรายงานประจำปีที่เสนอต่อ
ผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กไชร์ แฮทธะเวย์  ที่เขาเป็นประธานอยู่  และอีกจำนวนไม่น้อยมาจาก
การพูดหรือแสดงความคิดเห็นในที่ต่าง ๆ

    หลังจากนั้น ก็มีคนหลายคนที่ศึกษา และรวบรวมความคิดของเขาออกมาเป็น
หมวดหมู่เป็นระบบ  และกลายเป็นหนังสือแนวทาง หรือกลยุทธ์การลงทุน "แบบบัฟเฟตต์"


    ต่อไปนี้  เป็นข้อคิดดี ๆ ที่เป็น "สุดยอด" ของวอร์เรน บัฟเฟตต์  รวม ๗ ข้อใหญ่ ๆ
ด้วยกัน  ได้แก่


    ๑.  อย่าขาดทุน
  
    นั่นหมายความว่า  สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน ก็คือ  คุณต้องพยายามอย่าให้ขาดทุน   การลงทุนของบัฟเฟตต์  จะเน้นการลงทุนถือหุ้นระยะยาวมาก   หุ้นจะขึ้นหรือ
เปล่าในเดือนหน้าหรือปีหน้า  เขาไม่สนใจ  เขาสนใจแต่ว่า  ในระยะยาวแล้ว  หุ้นที่เขาซื้อ
จะไม่ลดลงอย่างถาวร  เนื่องจากผลการดำเนินงานแย่ลง


    ๒.  เป็นเรื่องที่ดีกว่า  ที่เราจะซื้อธุรกิจที่ดีสุดยอดในราคาปานกลาง  แทนที่จะซื้อธุรกิจปานกลางในราคาที่ดีสุดยอด

    บัฟเฟตต์นั้นไม่เน้นซื้อของถูกหรือซื้อได้ในราคาที่ "ดีสุดยอด"   เขาคิดว่า ธุรกิจ
ที่ดีสุดยอดนั้น  ในระยะยาวแล้ว มูลค่าของกิจการก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ    ดังนั้น  ถ้าเรา
สามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม  ไม่แพง  ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆ ตามผล
ประกอบการ  ยิ่งถือนานก็ยิ่งดี


    ๓.  "เวลาเป็นเพื่อนของธุรกิจที่มหัศจรรย์ แต่เป็นศัตรูของธุรกิจพื้นๆ"

    นั่น ก็คือ ถ้าเราถือหุ้นของ "ธุรกิจมหัศจรรย์" หรือธุรกิจที่ดีสุดยอด คุณจะอยากถือไว้นานที่สุด ให้เวลากับการลงทุน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป กำไรของบริษัทก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่สูงต่อเนื่อง

    ตรงกันข้าม ธุรกิจพื้นๆ นั้น ในบางช่วงเช่นช่วงแรกๆ ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะรวมถึงการที่มีคนเห็น ว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกและเข้ามาซื้อทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น แต่เมื่อถือหุ้นนานขึ้นเรื่อยๆ แต่กำไรของบริษัทและราคาหุ้นกลับไม่ปรับตัวขึ้น ผลก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนต่อปีก็จะลดลงเรื่อยๆ  ยิ่งถือนานก็ยิ่งแย่


    ๔.  "แนวทางของเรา ก็คือ กำไรจากการไม่มีการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะเปลี่ยนแปลง"

    นั่นก็คือ บัฟเฟตต์ มองว่าธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายด้วยปัจจัยอื่นโดยเฉพาะทางด้านของ เทคโนโลยี จะถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับเขาที่ต้องการลงทุนระยะยาวมากหรือตลอดไป ดังนั้น ถ้าอะไรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เขาก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่ลงทุน  แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางทีอาจจะทำให้บริษัทหนึ่ง มีผลประกอบการที่ก้าวกระโดด และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นได้มหาศาลอย่างหุ้นอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย กิจการที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายก็มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่บัฟเฟตต์จะรับได้


    ๕.  "สิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับเรา ก็คือ บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ประสบกับปัญหาชั่วคราว เราต้องการซื้อมันเมื่อมันอยู่บนโต๊ะผ่าตัด"

    นี่เป็น "โอกาสทอง" ที่บัฟเฟตต์แสวงหาตลอดมา จากอดีตจะเห็นว่าเขาเคยทำเงินมหาศาลอย่างรวดเร็วจากการซื้อหุ้นของกิจการที่ ดีสุดยอด แต่ประสบปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขได้ อาทิ หุ้นของอเมริกันเอ็กซ์เพรส หุ้นโค้ก และหุ้นอีกหลายตัวในช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์มในอเมริกา


    ๖.  "นานมาแล้ว เซอร์ไอแซคนิวตันให้กฎ ๓ ข้อของการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเป็นผลงานที่เป็นอัจฉริยะ แต่ความสามารถของนิวตันไม่คลุมไปถึงเรื่องการลงทุน เขาขาดทุนมากมายในวิกฤตการณ์ ฟองสบู่เซาท์ซี

    เขากล่าวภายหลังว่า "ผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของคนได้"

    ถ้าเขาไม่ถูกทรมานจากการขาดทุนในครั้งนั้นมากเกินไป เขาคงได้ค้นพบกฎ
ข้อที่ ๔  ของการเคลื่อนไหว นั่นคือ "สำหรับนักลงทุนโดยรวม  ผลตอบแทนลดลงเมื่อมี
การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น"

    ความหมายของคำกล่าวนี้ก็คือ บัฟเฟตต์มองว่า ยิ่งเราซื้อขายหุ้นมากขึ้น เราก็จะต้องเสียต้นทุนค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับส่วนต่างราคาซื้อราคาขาย  และอาจจะเกิดความผิดพลาดในด้านของจังหวะการซื้อขาย ทั้งหมดนั้นทำให้ยิ่งเทรดหุ้นมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งลดลง


    ๗. "เหนือสิ่งอื่นใด คุณจะพบว่า ใครว่ายน้ำล่อนจ้อนก็ต่อเมื่อกระแสน้ำลดลง"

    ความหมายก็คือ การที่จะดูว่าใครมีฝีมือในการลงทุนจริงๆ หรือหลักการลงทุน
แบบไหนได้ผลในระยะยาวจริง ๆ นั้น  เราจะต้องดูตอนที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำหรือซบเซาลงมากๆ เพราะนั่นคือ เวลาที่จะพิสูจน์ว่ากลยุทธ์การลงทุนใช้ได้ผลจริง   เพราะในยามที่ตลาดดีหรือช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นเป็นกระทิง  กลยุทธ์หลายๆ แบบอาจให้ผลดี หรือแม้แต่ดีกว่ากลยุทธ์ที่กูรูระดับโลกใช้กัน แต่ในยามที่ตลาดตกต่ำ กลยุทธ์นั้นอาจจะทำให้ขาดทุนมหาศาลและทำให้ผลตอบแทนโดยรวมระยะยาวกลับแย่ลง หรือไม่ดีอย่างที่คิด

    ทั้งหมดก็เป็นเพียงบางส่วนของ "อัจฉริยะ" ของบัฟเฟตต์  ที่ได้ผ่านการทดสอบมาต่อเนื่องยาวนาน   คิดแล้วน่าจะถึงห้าสิบปีที่เขาลงทุนมา เขา บอกว่า "คนชอบอ้างอิงความคิดของเรา แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติตามแนวทางการลงทุนที่เราทำ" และนี่ก็คงเป็นเรื่องธรรมชาติของคน หลักการลงทุนแบบบัฟเฟตต์ มันฝืนความรู้สึกของคนที่มักจะชอบ "ทำอะไรบางอย่าง" การซื้อแล้วถือหุ้นไว้เฉย ๆ แบบบัฟเฟตต์นั้น ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย